“ยาคุมกำเนิด” ภัยร้ายที่เจ้าของไม่(เคย)รู้

“ยาคุมกำเนิด” ภัยร้ายที่เจ้าของไม่(เคย)รู้

นอกจากการทำหมันแล้ว เจ้าของหลายคนอาจเลือกใช้วิธีฉีดยาคุมกำเนิดให้กับสัตว์เลี้ยงของตนเอง ซึ่งเจ้าของอาจจะคิดว่าเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัด แต่หารู้ไม่ว่าการฉีดยาคุมกำเนิดให้กับสุนัขและแมวนั้นสามารถทำให้เกิดอันตรายโดยตรง และเกิดผลเสียที่ร้ายแรงตามมาได้อย่างคาดไม่ถึง

ปัญหาการฉีดยาคุมกำเนิดในสุนัขและแมว

ฮอร์โมนคุมกำเนิด ที่ใช้ในสุนัขและแมว มีหลากหลาย ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ โพรเจสโตเจน หรือ โพรเจสติน (progestogens or progestins; PGs) ซึ่งเป็นสารสังเคาะห์ (synthetic analogues) ของ progesterone เช่น medroxyprogesterone acetate (MPA-Depoâ), megestrol acetate (MA), proligestone (PR-Covinan), chlormadinone acetate (CMA), delmadinone acetate (DMA), norethisterone acetate (NTA) และ melengestrol acetate (MGA)

ใช้มากในการควบคุมวงจรการเป็นสัดของในสัตว์หลายๆ ชนิด เช่น ในสุนัขและแมวจะเป็นการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว (เริ่มใช้ในช่วงก่อนการเกิดระยะ proestrus หรือก่อนเป็นสัดระยะแรก) หรือคุมกำเนิดแบบระยะเวลานาน (เริ่มในช่วง anestrus คือช่วงที่ไม่เป็นสัด) ใช้เลื่อนการเป็นสัดออกไป หรือใช้เพื่อกดการเป็นสัด (เริ่มใช้เมื่อเริ่มเป็นสัดไปแล้วในระยะต้น – ใช้ได้บางชนิดเท่านั้น)

“ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะไปหยุดการสร้างและหรือการหลั่งของฮอร์โมนปกติจากสมอง โดยแต่ละตัวก็จะมีผลต่อระบบสืบพันธุ์และระบบฮอร์โมนต่างๆ กัน เช่น เกิดถุงน้ำผนผนังมดลูก เกิดการเจริญผิดปกติของเซลเต้านม จนกลายเป็นเนื้องอก ลดการสร้างหรือเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิด เกี่ยวเนื่อกับภาวะเบาหวาน เป็นต้น”

osdco

นอกจากนั้นแล้วยังอาจเกิดปฏิกิริยาทางผิวหนังในบริเวณที่มีการฉีดและอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมต่างๆ ได้ เช่น เพิ่มความอยากอาหารและน้ำหนัก, กินน้ำมาก ลดกำหนัดในสัตว์เพศผู้ ส่วนการใช้ในสุนัขและแมวที่กำลังตั้งท้องระยะแรก อาจเป็นสาเหตุของการเกิด ความไม่ปกติทางเพศของตัวอ่อนเพศเมีย และเกิดการคลอดช้ากว่ากำหนดได้

ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ยาชนิดนี้สามารถป้องกันได้ ถ้ามีการใช้ในขนาดที่ถูกต้องและไม่ใช้ติดต่อนานจนเกิดไป การเลือกใช้ในสัตว์แต่ละตัวควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆคือ 1. ต้องรู้วงรอบการเป็นสัดของสุนัขและแมวอย่างชัดเจน โดยสัตวแพทย์ต้องทำการตรวจทุกครั้งก่อนคิดให้ฮอร์โมนคุมกำเนิด 2. อย่าเลือกผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้นาน ในการเป็นสัดครั้งแรกในแมว เพราะจะทำให้เกิดการกระต้นการขยายของเซลเต้านมอย่างยาวนานได้ 3. ห้ามใช้ในสัตว์ที่ตั้งท้องอยู่ เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติในการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ หรืออาจทำให้เกิดการคลอดช้ากว่ากำหนด เกิดการตายของตัวอ่อนได้ 4. ห้ามใช้ในการรักษาท้องเทียมในสุนัข เพราะอาการท้องเทียมจะหายไปแต่จะกลับมาใหม่และรุนแรงมากขึ้นเมื่อหยุดการรักษา 4. ห้ามใช้ในสุนัขที่มีการเกิดเลือดออกจากมดลูก ห้ามใช้ในสัตว์ที่เกิดการเป็นสัดยาวนาน เนื่องจากอาจเกิดความผิดปกติ คือ ถุงน้ำ หรือเนื้องอกรังไข่ 5. ห้ามใช้ในสัตว์ป่วยโรคเบาหวาน ควรทำการตรวจสอบค่าระดับน้ำตาลในเลือด blood glucose ในรายที่มีการให้ยามาเป็นเวลานานเพื่อตรวจสอบ glucose metabolism เสมอ

“สรุปคือ ควรใช้ในสัตว์ที่เคยเป็นสัดมาก่อนแล้วที่อยู่ในระยะ anestrus (หลังเป็นสัดไป 3-6 เดือน) ส่วนในสัตว์ที่ยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ ไม่ควรใช้สารที่ออกฤทธิ์นาน (ฮอร์โมนที่ใช้ฉีดในปัจจุบัน)”

ดังนั้นการให้ฮอร์โมนเหล่านี้ มักพบผลเสียที่เด่นชัด โดยเฉพาะ การฉีดยาคุมกำเนิด โดยใช้ฮอร์โมน) ในแมวและสุนัข นั้นอาจก่อให้เกิด Cystic Endometrial Hyperplasia หรือ ผนังมดลูกหนาตัวเป็นถุงน้ำ (ต้องถามผู้หญิงดูว่า เวลามดลูกมีอะไรผิดปกติมันเจ็บปวดเพียงไหน-เพียงแต่ หมา-แมวพูดบอกไม่ได้) มดลูกอักเสบเป็นหนอง (Pyometra) เนื้องอกหรือมะเร็งเต้านม กดฮอร์โมนพวก Adrenocorticosteriod เหนี่ยวนำให้เกิดเบาหวาน ฯลฯ แล้ว… ถ้าฉีดโดยไม่ทราบว่าสุนัขหรือแมว ผสมพันธุ์และมีปฏิสนธิแล้ว (หรือทราบแต่ตั้งใจฉีด หรือ หมอไม่ใส่ใจซักประวัติ- สักแต่ว่าฉีด) ฮอร์โมนนี้จะทำให้เกิดการตั้งท้องได้ปกติ แต่จะไม่เกิดการคลอดตามธรรมชาติ เพราะกระบวนการคลอดปกตินั้น ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนี้จะลดลง แต่เมื่อฉีดเข้าไป ปริมาณที่คงอยู่ 4-6 เดือนจะเกินเวลาปกติของการตั้งท้อง เมื่อเลยระยะการตั้งท้องปกติ รกจะไม่สามารถทำหน้าที่ในการส่งผ่านอาหารและออกซิเจนจากแม่ให้ลูกได้ ลูกสัตว์จะค่อยๆตาย อาจเน่า ติดเชื้อสู่กระแสเลือดจนก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตแม่สัตว์ต่อมา

Orchard Veterinary Group

“เจ้าของสัตว์หรือสัตวแพทย์สมัยใหม่ จะไม่นิยมฉีดยาคุมกำเนิดนี้แล้ว เพราะผลดีมีไม่มากเท่าผลเสีย ถ้าจำเป็นต้องฉีดจะต้องซักประวัติและตรวจร่างกายสัตว์อย่างละเอียดและไม่ทำการฉีดซ้ำหลายหน …แต่ถ้าหลีกเลี่ยงได้จะดีที่สุด………หยุด การฉีดยาคุม แล้วแนะนำให้เจ้าของทำหมันถาวรในสัตว์เลี้ยงกันเถอะครับ”

ที่มา: osdco / บทความโดย: รศ.น.สพ.ดร.สุดสรร ศิริไวทยพงศ์

แชร์บทความนี้...

Vetbasket

คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้ด้วย...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *