“หินปูน” เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

“หินปูน” เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

ในช่องปากของน้องหมา น้องแมว มีแบคทีเรียหลากหลายชนิด รวมแล้วเป็นพันๆชนิด โดยอยู่ในปากร่วมกับน้ำลายของน้องหมา น้องแมว จากนั้นน้องหมา น้องแมวก็กินอาหารเข้าไป ซึ่งเจ้าอาหารนอกจากจะเป็นตัวหล่อเลี้ยง น้องหมา น้องแมวแล้ว ยังเป็นอาหารให้กับเจ้าพวก แบคทีเรียในช่องปากอีกด้วย

dogtime.com

ดังนั้น หากช่องปากไม่ได้รับการทำความสะอาด ก็จะเกิดคราบชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่า คราบพลาค (Plaque) ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ มันก็คือ หินปูนที่เรายังมองไม่เห็นนั่นเอง เจ้าคราบพลาค จะเกิดขึ้น ทุก24 ชั่วโมง ภายหลังจากที่เราทำความสะอาดฟัน  ดังนั้น หากเราไม่ทำความสะอาดฟัน คราบพลาคจะสะสมที่ฟันของน้องหมา น้องแมวโดยที่เราไม่รู้ ยังไม่หมดแค่นั้น พอเราปล่อยเวลาต่อไปอีก 48 ชั่วโมง จากคราบพลาคที่เรามองไม่เห็น จะทำปฏิกิริยา กับน้ำลาย เริ่มกลายเป็นหินปูน ตัวจริง เสียงจริง ที่เห็นเป็นคราบแข็งๆ เกาะอยู่บนฟันของน้องหมา น้องแมว นั่นเอง

เมื่อมีหินปูนแล้วจะเป็นปัญหาได้อย่างไรล่ะ?

เจ้าหินปูนจะว่าไป อาจไม่ใช่ตัวการหลักที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ แต่มันเป็นต้นเหตุ เนื่องจากพอเริ่มมีหินปูน เจ้าพวกแบคทีเรียก็เริ่มมีที่เกาะ เหมือนเริ่มมีบ้านให้อยู่ และถูกกำจัดออกไปได้ยากขึ้น เจ้าแบคทีเรียก็จะเริ่มสร้างสารพิษออกมา ทำให้ สภาพภายในช่องปากเกิดการอักเสบ โดยเราจะเริ่มเห็นอาการแรกๆ คือ เหงือกอักเสบ (gingivitis)อาการเหงือกอักเสบ เพื่อนๆจะเห็นว่าตัวเหงือกที่ให้ฟันอยู่ ขอบๆ เริ่มเป็นสีแดง บางรายมีเลือดออกซึมๆ ถ้าเราจัดการได้ทัน คือ เริ่มทำความสะอาดช่องปากให้น้องหมา น้องแมว อาการเหงือกอักเสบ อาจหายไป แต่ถ้าเราปล่อยให้โรคดำเนินต่อไป สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ โรคปริทันต์ (Periodontal disease) อาการที่เพื่อนๆจะเห็นคือ น้องหมา น้องแมว จะกินอาหารน้อยลง ตัวฟันมีหินปูนมาเกาะมาก เหงือกที่ขอบแดงๆ เริ่มร่น ในบางครั้งเราอาจเห็นรากฟันโผล่ออกมา แย่กว่านั้นคือ เลือดออก และมีฟันโยก หากเรายังไม่ทำอะไร สิ่งที่ตามมาอีก ก็คือ เริ่มมีการติดเชื้อไปที่กระดูกกราม ทำให้กระดูกบางส่วนหายไป เกิดโพรงขึ้นที่กระดูกกราม ส่งผลให้เกิด น้ำมูกเป็นหนอง เป็นฝีใต้ตา หรือกรามล่างหักได้

fivevalleysvet.com

การที่น้องหมาน้องแมวของเรานั้นมีหินปูน ท่าทางจะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ซะแล้ว ดังนั้นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการแปรงฟัน แต่หากน้องหมาน้องแมวของใครเริ่มมีหินปูนแล้ว ก็ควรพาเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมิน นัดขูดหินปูน และทำการรักษาต่อไป

ที่มา: osdco , รูปประจำเรื่อง: topdogtips.com

แชร์บทความนี้...

Vetbasket

คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้ด้วย...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *