แมวพันธุ์มันช์กิ้น (Munchkin)

แมวพันธุ์มันช์กิ้น (Munchkin)

มันช์กิ้นเป็นแมวที่มีทั้งแบบขนสั้นและขนยาว เป็นแมวขนาดกลางลำตัวยาว มีดวงตาเป็นรูปทรงวอลนัท และมีหูทรงสามเหลี่ยม เนื่องจากเกิดกระบวนการผ่าเหล่า พวกมันจึงมีขาที่สั้นและอ้วนเตี้ย ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่ทำให้คนจดจำได้มากที่สุด ดังนั้นการที่ขาของมันช์กิ้นมีลักษณะดังกล่าวไม่ใช่เพราะว่ามันพิการ ซึ่งมันมีเท้าหน้าขนาดปกติที่มีความยาวเท่าๆ กัน

Vetstreet

นิสัยและอารมณ์

แมวขาสั้นชนิดนี้มีความมั่นใจ ทำตัวง่ายๆ และไม่ได้ประหม่าเกี่ยวกับร่างกายที่ผิดปกติของตัวเอง แมวพันธุ์นี้ชอบเล่นและมักเล่นปลุกปล้ำกับเพื่อนของมัน อีกทั้งยังชอบนำวัตถุขนาดเล็กที่มีประกายไปซ่อนเพื่อนำมาเล่นในภายหลัง นอกจากนี้มันช์กิ้นยังมีสัญชาตญาณของความเป็นนักล่า และจะไล่หนูหรือสิ่งใดก็ตามที่เคลื่อนไหว แต่เมื่อหมดวัน มันก็ไม่ได้ต้องการสิ่งใดนอกจากการได้เข้ามาอิงแอบที่ตักของเจ้าของและส่งเสียงร้องจนกระทั่งเจ้าของยอมลูบตัว

Royal Canin

ความเป็นมาและภูมิหลัง

จุดกำเนิดของแมวพันธุ์ขาสั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน แต่พวกมันถูกพบในประเทศอังกฤษในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 แต่ก็มีแมวหลายตัวที่ถูกกำจัดในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1983 Sandra Hochenede ครูสอนดนตรีได้พบกับแมว 2 ตัวโดยบังเอิญ ซึ่งซ่อนอยู่ภายในกระบะรถหลังจากถูกไล่โดยสุนัขพันธุ์บูลด็อก หลังจากที่ช่วยแมวแล้ว เธอก็นำแมวเหล่านี้กลับมาบ้านและพบว่าแมวตั้งครรภ์ สุดท้ายเธอเก็บแมวสีดำไว้กับตัวเองและให้แมวสีเทาแก่คนอื่น ซึ่งแมวที่เก็บไว้เองนั้นมีชื่อว่า Blackberry

หลังจากที่แมวตัวนี้คลอดลูก Hochenedel ก็ได้มอบลูกแมวให้เพื่อนที่ชื่อว่า Kay LaFrance ซึ่งเธอเลี้ยงแมวไว้หลายตัว และยอมให้แมวออกไปเดินเล่นอย่างอิสระนอกบ้าน หลังจากนั้นไม่นานในเมืองก็เต็มไปด้วยแมวมันช์กิ้น

UFAW

ต่อมา LaFrance ได้ติดต่อกับ Dr. Solveig Pflueger ซึ่งเป็นประธานของ The International Cat Association’s (TICA) เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับแมวสายพันธุ์นี้ งานวิจัยของ Pflueger ทำให้รู้ว่าการที่มันช์กิ้นมีขาสั้นนั้นเป็นเพราะผลจากการผ่าเหล่าที่ส่งผลต่อกระดูกส่วนขาที่ยาว

หลังจากนั้นก็มีผู้เพาะพันธุ์แมวหลายคนที่สนใจแมวสายพันธุ์นี้และพยายามทำให้มันถูกยอมรับโดย TICA แต่ทว่า TICA กลับปฏิเสธเนื่องจากมีข้อมูลเกี่ยวกับแมวสายพันธุ์นี้ไม่เพียงพอ แต่สุดท้ายแล้วมันก็ได้รับการยอมรับในปี ค.ศ.1995 หลังจากที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่

ที่มา: honestdocs

แชร์บทความนี้...

Vetbasket

คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้ด้วย...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *